รีวิว Spencer
นับตั้งแต่มีการนำชีวิตของเจ้าหญิงไดอานา (Princess Diana) มาบอกเล่าต่อในสื่อภาพยนตร์และซีรีส์ หนังNetflix มีนักแสดงสาวที่สวมบทบาทเป็นเจ้าหญิงขวัญใจมหาชนนับเป็น 10 คนแล้ว และทุกเรื่องก็มักเคลมเอาปมปัญหาความอึดอัดที่เธอต้องอยู่ในภายใต้ชายคาเดียวกับราชวงศ์วินเซอร์ (Windsor) และเรื่องรักร้าวระหว่างไดอานากับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ (Prince Charles) มาถ่ายทอดให้คนดูเห็นใจและเห็นถึงความเป็นเลือดนักสู้ เว็บดูหนัง เว็บดูหนังฟรี
และกับ ‘Spencer’ หนังก็เลือกฉีกทางมาเล่าเป็นแนวดรามาจิตวิทยาผ่านการกำกับของ พาโบล ลาเรน (Pablo Larrain) ที่เคยส่ง นาตาลี พอร์ตแมน (Natalie Portman) เข้าชิงออสการ์มาแล้วจาก ‘Jackie’ มาคราวนี้ลาเรนเลือกคริสเทน สจวร์ต(Kristen Stewart) มารับบทไดอานาฉบับจิตตกที่คราวนี้หนังจะพาเราไปสำรวจห้วงความคิดของไดอานาที่ต้องทนใช้ชีวิตกับพระบรมวงศานุวงศ์ช่วงคริสต์มาสตลอด 3 วัน
ในทางตรงข้ามกับหนังเรื่องอื่น ‘Spencer’ ไม่เน้นโครงเรื่อง ไม่มีเป้าหมายตัวละครที่ชัดเจนหรือกระทั่งการให้เหตุผลการกระทำของตัวละครอย่างตรงไปตรงมา มันคือบทเปรียบเทียบเปรียบเปรยที่ศิลปินในที่นี้คือ พาโบล ลาเรนเลือกจะนำเสนอ เหมือนเอา
แค่ตัวละครชื่อไดอานาในช่วงที่ยังเป็นเจ้าหญิงและอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์มาอยู่ในสถานการณ์ของช่วงพักผ่อนคริสต์มาสต์ ซึ่งหนังก็เลือกเปิดเรื่องด้วยข้อความว่า “เรื่องแต่งจากโศกนาฏกรรมจริง” ซึ่งนั่นหมายความว่าเรื่องที่เขาจะเล่าอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้
แต่ท้ายที่สุดมันก็ดันพึ่งพาเหตุการณ์อ้างอิงหลายอย่างอยู่ดีโดยเฉพาะความอึมครึมในความสัมพันธ์อันอื้อฉาวระหว่างเจ้าหญิงไดอานา เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์และนางคามิลลา พาร์คเกอร์ โบลส์ (Camilla Parker Bowles)ที่หนังพยายามไม่เอ่ยชื่อและไม่ลงลึกในรายละเอียด แต่เลือกจะถ่ายทอดผลของความสัมพันธ์อันเป็นพิษผ่านอาการเสียสติของเจ้าหญิงไดอานาด้วยท่าทางการเดินไปเดินมาและทำตาถลนรวมไปถึงการเลือกหยิบอาการบูลิเมีย (Bulimia) หรืออาการล้วงคออ้วกมานำเสนอซ้ำไปมา
แต่กระนั้นแทนที่หนังจะสามารถพาคนดูคล้อยตามและเห็นใจไปจนถึงร่วมประสบการณ์ความอึดอัดกดดันจนเห็นใจตัวละคร ตรงกันข้ามเรากลับได้เห็นว่าหนังพยายามตั้งธงเหลือเกินว่าราชวงศ์วินเซอร์คือปีศาจร้ายที่ทำร้ายหญิงสาวคนหนึ่งจนแทบเสียสูญ ดังนั้นมันจึงให้เราเห็นตัวละครเพียงมิติเดียวแทบทั้งเรื่องคือตัวละครอื่นนอกจากไดอานา เจ้าฟ้าแฮรีและเจ้าฟ้าวิลเลียมคือชั่วหมด ใจร้ายเสียเต็มประดา
ซึ่งต่างจากข้อมูลรอบด้านที่เราได้รับมาจากซีรีส์ ‘The Crown’ ที่ทำให้เราเห็นทั้งความน่าสงสารของเจ้าหญิงไดอานาและทำให้เห็นการรับมือกับกระแสสื่อที่เริ่มทิ่มแทงราชวงศ์จนทางพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ 2 (Queen Elizabeth II) เองก็ต้องหาทางรับมือกับพายุที่ทำให้ระบอบกษัตริย์สั่นคลอน แต่เอาล่ะในเมื่อหนังต้องการให้เราเห็นใจไดอานา เราก็จะไม่นำส่วนนี้มาต่อว่าหนัง ทีนี้เรามาดูเรื่องนักแสดงที่มาถ่ายทอดบทบาทนี้จนมีชื่อเข้าชิงรางวัลมากมายอย่างคริสเทน สจ๊วร์ตกันดีกว่า
สำหรับคริสเทน สจวร์ต ในบทของเจ้าหญิงไดอานาก็ต้องบอกว่าแม้เธอจะถ่ายทอดความอึดอัดของตัวละครได้ดีและยอมรับว่าหนังให้โอกาสเธอได้เปล่งประกายในหลายเรื่องทั้งการฝึกสำเนียงอังกฤษและการปรากฎกายในอากัปกริยาที่คล้ายเจ้าหญิงได้อาน่ามาก ๆ ซึ่งก็คือ “การเอียงคอ” ซึ่งหนังมีช็อตที่สจวร์ตต้องเอียงคอเยอะซะจนไม่แน่ใจว่าผู้กำกับอย่างลาเรนได้บรีฟข้อมูลตัวละครอย่างอื่นบ้างหรือเปล่าเพราะนอกจากอากัปกริยาที่พยายามก็อปมาจากไดอานาและหน้าตาที่เหมือนคนอยากอาเจียน
ตลอดเวลาแล้วเธอแทบจะไม่สามารถถ่ายทอดความเจ็บปวดหรือสภาวะที่ตัวละครต้องเผชิญจนไม่อาจนำพาอารมณ์คนดูให้รู้สึกร่วมตามไปได้เลยและผลลัพธ์จากการที่หนังเองก็พยายามถ่ายทอดข้อมูลด้านเดียวและพยายามปั้นแต่งเปรียบเปรยกับวรรณกรรมต่าง ๆ มากจนเกินงามสุดท้ายตัวละคร ไดอานาของสจวร์ตเลยกลายเป็นแค่แบบฝึกหัดการเอียงคอและกดเสียงต่ำพร้อมพูดสำเนียง
อังกฤษไปเสียอย่างนั้นจนน่าเสียดายไม่น้อยว่าแม้หนังจะพยายามดึงคนดูด้วยงานดีไซน์เสื้อผ้าสวย ๆ การออกแบบซีนที่ดูปราณีตมากท้ั้งฉากโต๊ะสนุ๊กเกอร์ในซีนที่ทำให้เห็นว่าฟ้าชายชาร์ลส์หมดรักเธออย่างสิ้นเชิงหรือการพยายามเลาะด้ายที่เย็บติดผ้าม่านกันพวกปาปาราสซี่ออกเพื่อแสดงถึงภาวะที่ตัวละครต้องการพื้นที่หายใจก็กลับกลายเป็นการประดิดประดอยจนเกินงามและพยายามเหลือเกินจะให้มันดูเป็นซิมโบลิกสื่อความหมายแต่ท้ายสุดก็กลับ
เรื่องย่อ รีวิว Spencer
กลายเป็นความเอื่อยเฉื่อยอันน่ารำคาญ แม้จะถ่ายทอดผ่านงานกำกับภาพอันลื่นไหลประหนึ่งดูหนังอาร์ตของผู้กำกับเทอร์เรนซ์ มาลิค (Terrence Malick) ก็ไม่อาจฉุดคนดูให้อยู่กับหนังได้จนบางคนถึงกับถอนสายบัวอำลาไดอานาไปเข้าเฝ้าพระอินทร์กันเป็นแถบ หนังฟรี หนังใหม่
Spencer เป็นการพาคนดูดำดิ่งลงไปในจินตนาการอันสะเทือนอารมณ์ของ ไดอาน่า ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตของเธอ เราจะได้เห็นการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ ในชีวิตของเธอ ด้วยการเริ่มต้นกับการที่เธอได้รับสกุล สเปนเซอร์ มา มันจะเป็นการแสดงให้เห็นความยากลำบากของการเติมเต็มช่องว่างเพื่อให้เธอกลับมาเป็นตัวเอง และยังยึดมั่นที่จะคงไว้ซึ่งสกุลที่มีความหมายต่อตัวเธอเอง และนี่คือช่วงเวลา 3 วันในเทศกาลคริสต์มาสที่ท้าทายชีวิตของเธอ
ก่อนอื่นหลายๆ คนอาจจะใคร่สงสัยว่า “หนังดูยากหรือดูง่าย?” คงต้องบอกว่า Spencer ก็ไม่น่าจะใช่หนังแมสทั่วโลกที่คนดูทุกคนจะติดตามดูได้อย่างสบายใจ แต่กระนั้นหนังก็ไม่ใช่อินดี้สุดๆ อะไรแบบ การนำเสนอของหนังเรื่องนี้เหมือนเลื่อนลอยเอาไว้อยู่ตรงกลาง ความแมสอยู่ตรงที่เป็นเรื่องราวของเจ้าหญิงไดอาน่าที่คนทั้งโลกรู้จักเธอดี ความอินดี้เฉพาะตัวอยู่ที่อารมณ์ยั้งลึกที่ต้องวิเคราะห์ตามเธอไปในทุกฉาก
แต่เมื่อนำองค์ประกอบทั้งสองขั้วมารวมกันแล้ว ถือว่า Spencer ค่อนข้าวประสบความสำเร็จในการเล่าเรื่องที่ไม่เชิงแปลกแต่ไม่ได้ปกติ งานกำกับของ “พาโบล ลาร์เรน” ยังเต็มไปด้วยลูกเล่นที่จัดจ้านอันเป็นสไตล์ ถือว่าเป็นการหยิบสูตรที่ใช้แล้วเวิร์กมาจากหนัง Jackie ผลงานชิ้นก่อนของเขามาพัฒนาให้ดูยิ่งขึ้นอื่น และสร้างสรรค์ออกมาเป็นหนังเกือบ 2 ชั่วโมงที่เต็มไปด้วยมิติที่มัดใจคนดูได้แน่นหนา
บทหนังของ “สตีเว่น ไนต์” (จาก Allied) ถือว่าค่อนข้างคมคาย มีส่วนประกอบที่ช่วยบีบคั้นอารมณ์ผู้ชมได้เป็นอย่างดี พร้อมด้วยไดอะล็อกที่แปลกแต่ดี มีมุมพิลึกที่ตกผลึกออกมากับความเป็นมนุษย์ที่ได้รับความใส่ใจใการกลั่นกรอง แม้ว่าตัวบทหนังจะยังไม่ได้ดีเลิศโดดเด่นอะไรสักเท่าไหร่ แต่ก็ถือว่าเป็นชิ้นงาน “แต่งขึ้นจากเรื่องเศร้าในเหตุการณ์จริง” ที่ค่อนข้างกลมกล่อม ตามที่หนังได้ขึ้นข้อความเอาไว้ตอนต้นเรื่องว่า…นี่เป็นแค่เรื่องแต่ง
อีกจุดที่โดดเด่นของ Spencer ก็น่าจะเป็นงานดนตรีประกอบที่ได้ “จอนนี กรีนวูด” คอมโพสเซอร์ที่กำลังมาแรงในตอนนี้ เพราะเขาก็คือคนที่ทำเพลงให้ “The Power of the Dog” ในรางวัลอีกเรื่องที่โดดเด่นในปีนี้ เพราะเสียงดนตรีประกอบนี่เองที่ช่วยขับเคลื่อนและ ขับอารมณ์คนดูให้คลุกเคล้าไปตามตัวละคร เค้นความสะอิดสะเอียน เค้นอาการหายใจลำบาก ทุกอย่างมีเสียงเครื่องดนตรีเข้ามาช่วยปลุกเร้าได้อย่างเป็นเอกลักษณ์
และ แน่นอนไฮไลต์เด่นของ Spencer ก็ต้องเป็น “คริสเตน สจ๊วต” ที่ในเรื่องนี้เราได้เห็นเธอฉายแสง และ ศักยภาพอันเปี่ยมล้นออกมาแบบไม่มีกั๊ก การสวมบทบาทเป็นเจ้าหญิงไดอาน่าของเธอ แตกต่างไปจากหนังเรื่องอื่นๆ ชัดเจน เพราะเธอตีความบทเจ้าหญิงได้เป็นตัวของตัวเอง มีเพียงรูปร่างการแต่งองค์ทรงเครื่องในเหมือนพระองค์เท่านั้น แต่อินเนอร์ที่ดาราสาวผู้เลือกใช้แสดงในตัวเรื่องนี้ ถือว่าทำให้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว
รีวิว Spencer
คริสเตน สจ๊วต ถือว่าแบกรับหนังเรื่องนี้เอาไว้ได้ค่อนข้างสบายๆ เลย ด้วยการแสดงสไตล์น้อยแต่มากของเธอ สร้างแรงขับเคลื่อนที่ทรงพลัง หนังมีซีนอารมณ์ที่หนักหน่วงอยู่หลายจุด แต่เธอก็สามารถรับมือได้ด้วยการแสดงที่ไม่ขัดแต่ความเป็นตัวเองของเธอเลยแต่หน่อย หากจะว่าไปแล้ว รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เหมาะจะเป็นของใคร คริสเตนก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม…หนึ่งในนั้นด้วย ดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์
องค์ประกอบเสื้อผ้าหน้าผมใน Spencer จะต้องได้เข้าชิงรางวัลทุกเวทีอย่างแน่นอน เพราะนี่ก็เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของหนังที่ทำออกมาได้อย่างน่าหลงใหล เรื่องของเสื้อผ้าเก็บรายละเอียด และ ช่วงยุคได้เป็นอย่างดี และ ยังแตกแขนกทำให้งานด้านอื่นๆ ของหนังดูดีไปด้วย โดยเฉพาะงานถ่ายภาพ (Cinematography) ของ “แคลร์ มาตง” ผู้กำกับภาพชาวฝรั่งเศส (จาก Portrait of a Lady on Fire) ที่ถ่ายออกมาได้สวยบาดใจในทุกซีน
เอาเป็นในภาพรวมนั้น Spencer ถือว่าเป็นหนังที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพจัดจ้าน หนังที่เต็มไปด้วยสภาวะทางอารมณ์หนักหน่วง การเล่าเรื่องที่เต็มไปด้วยมิติ และ ค่อย ๆ ทำให้คนดูรู้สึกอึดอัด คล้ายกับบีบรัดเร้าอารมณ์ไปเรื่อย ๆ จนแทบจะเกือบหายใจไม่ออก ไม่ใช่หนังที่ดูยากแต่ก็ไม่ได้ดูง่ายๆ ขนาดนั้น แต่เพียงดูการแสดงของ คริสเตน สจ๊วต ที่ทำออกมาได้ดีในเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นความคุ้มค่าที่จะดูแล้ว
ดังนั้นแล้ว Spencer จึงเป็นหนังอีกฉบับที่ตีแผ่เรื่องราวอีกแง่มุมของเจ้าหญิงไดอาน่าที่โลกยังไม่เคยได้รู้ออกมาได้อย่างคมคาย และ เต็มไปด้วยมิติที่น่าสนใจ เป็นหนังเชิงอารมณ์ที่แฝงสัญลักษณ์เอาไว้เป็นนัยตลอดทาง บางครั้งก็ให้คนดูรู้สึกเหมือนกับเข้าไปอยู่กรงทองด้วยกับไดอาน่าด้วย โดยที่ต้องไม่ลืมไปว่า…ที่กำลังสัมผัสอยู่นี้เป็นเพียงแค่เรื่องแต่งขึ้นเท่านั้น…
จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์อันอื้ออึง Ben Rolph หนึ่งในสมาชิกของสมาคม BFCA ผู้ดูแลงานประกาศรางวัล Critics Choice Awards ได้กล่าวยกย่องการแสดงของคริสเต็นในบทบาทของเจ้าหญิงไดอาน่าว่า “เป็นการแสดงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และ ยังไม่มีใครทัดเทียมได้ในเวลานี้” อีกทั้งยังจัดให้ภาพยนตร์เรื่อง Spencer เป็นภาพยนตร์ที่ดีที่สุดแห่งปีอีกด้วย ในขณะที่เว็บไวต์บันเทิงอย่าง Collider ได้กล่าวเอาไว้ว่า “นี่คือพลังแห่งการแสดงที่ห้ามละสายตา” ลากยาวไปจนถึงเหล่านัก
วิจารณ์ภาพยนตร์ และ บรรณาธิการข่าวจากสำนักข่าว The Daily Beast อย่าง Marlow Stern ยังได้ป่าวประกาศเอาไว้หลังจบภาพยนตร์ว่า “คริสเต็นจะกลายเป็นผู้บุกเบิกรางวัลสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในออสการ์ปีหน้าอย่างแน่นอน”…ดูเหมือนว่ากระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่ออกมานั้นจะเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ก่อนหน้านี้ เพราะแม้แต่ The New York Times ก็ยังคงชี้ให้เป็นที่น่าสังเกตว่า “การคัดเลือกนักแสดงในครั้งนี้ถือเป็นอัจฉริยภาพอย่างหนึ่งของทีมงาน เพราะเมื่อ
พิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่าชีวิตที่ถูกไล่ตามโดยเหล่าปาปารัซซี่ของคริสเต็นนั้น มีความคล้ายคลึงกันกับชีวิตของไดอาน่าอย่างมาก” อีกทั้งยังมีการเปรียบเทียบการแสดงของคริสเต็น ระหว่างภาพยนตร์เรื่องนี้ กับภาพยนตร์เรื่อง Twilight ไว้อีกด้วยว่า”การกลับมาครั้งนี้ เธอได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของภาพยนตร์ได้แล้ว ด้วยทักษะการแสดงที่ได้รับการพัฒนามาอย่างเข้มข้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา และ อาจเรียกได้ว่าเป็นผลงานชิ้นมาสเตอร์พีซของเธอเลยก็ว่าได้” สปอยหนังใหม่